RSS

Monthly Archives: มิถุนายน 2011

♥ ตอบได้ไม๊ ? ว่า ได้ไม๊ ?

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 6, 2011 นิ้ว Uncategorized

 

Thitiporn !

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 6, 2011 นิ้ว Uncategorized

 

เรื่องของบล๊อก

บล๊อก

ความหมายของบล๊อก

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า “บล็อก” ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า “บล็อกเกอร์”

บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

ประเภทของบล๊อก

ปกติวิสัยเราร้อยเรียง Blog กันก็ตามอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวที่ออกมา หรือเขียนเพราะอยากแบ่งปันเรื่องราวดีๆ สนุกๆ เร้าใจ หรือ ประสบการณ์ เพื่อบอกให้บุคคลอื่นได้รับรู้ไว้เป็นอุธาหรณ์ แต่เราอาจเผลอไผลบางอย่างไป ว่าการเขียน Blog มีหลายหมู่ซึ่งเราไม่ค่อยจะใส่ใจ วันนี้จึงนำเรื่องประเภทของ บล็อก มาเล่าสู่กันฟังโดยแบบการเขียน Blog แบ่งตามลักษณะของเนื้อหาในการเขียน คือ

1.Personal Blog หมายความว่าการเขียน Blog แบบ เล่าเหตุการณ์โดยส่วนตัว บอกถึงความเข้าใจพิจารณา หรือเรื่องในชีวิตประจำวันที่ได้ประสบของคนนั้นๆ เล่าเรื่องราวข่าวสารต่างๆ ที่ตัวเองพบปะ หรือมีความนึกคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรือบางครั้งเรียกรูปแบบนี้ว่า การร้อยกรองแบบ ไดอารี่ ก็ได้
2.Topical Blog หมายความว่าการเขียน Blog โดย มีจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดแจ๋ว อาจจะเกี่ยวกับสิ่งที่ผูกพันหรือมีความรอบรู้ ในเรื่องนั้นๆ อย่างเชี่ยวชาญ เช่น กีฬาบาสเกตบอล ฟุตบอล กอล์ฟ เป็นต้น หรือเกี่ยวกับเพลงที่ประทับใจ ให้ความเห็นภาพยนตร์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการเขียนลักษณะนี้จะเกี่ยวโยงจากหัวข้อเป็นหลัก จะเล่าเรื่องนอกเหนือจากหัวข้อไม่มากนัก
3.Collaborative Blog หมายความว่าการเขียน Blog แบบเป็นทีม ร่วมแรงร่วมใจเขียน ช่วยกันปรับปรุง ซึ่งภายใน บล็อก อาจจะมีเหตุการณ์นาเนก ซึ่งอาจเขียนโดยผู้เขียนคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยแต่ละคนจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของAccount ให้ทำการเรียบเรียงบทความหรือรับผิดชอบเฉพาะส่วนไป
4.Corporate Blog เป็นการเขียน Blog เชิง ธุรกิจ โดยบริษัทหรือองค์การต่างๆ เพื่อกระจายข่าวถึงหน่วยงานของตน หรือเป็นตัวเสริมในการนำเสนอให้ความรู้เสริมเกี่ยวกับสินค้าหรือ บริการ ตัวอย่างขององค์การ มี corporate blog เช่น HP,Yahoo และ Google เป็นต้น โดย Blog ขององค์การ ธรรมดาแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Internal blog และ External blog
โดย Internal blog เป็นบล็อกภายในที่ถูกจัดให้มีขึ้นเพื่อบุคลากรขององค์การ และสามารถเข้าถึงได้เฉพาะข่ายงานขององค์การเท่านั้น ส่วน External blog เป็นบล็อกที่อนุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นบุคลากรสามารถเข้าถึงได้ เช่น ลูกค้าองค์กร เป็นต้น
5.Specialty Blog เป็นการเขียน Blog แบบพิเศษนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ยกตัวอย่าง เช่น Blog ที่เขียนขึ้นเพื่อกระจายข่าวโครงการซึ่งจัดขึ้นในกรณีพิเศษ การป่าวประกาศรับบริจาค การประกวดแข่งขันต่างๆ เป็นต้น

คุณค่าและประโยชน์ของบล๊อก

1. การได้รับรู้และเห็นว่าในโลกปัจจุบัน…สังคมเราต้องมีการเปิดใจให้กันและกัน…เพื่อรับความรู้ใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มให้กับชีวิตที่เรายังไม่รู้…ตลอดจนถึงได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน…
2. การได้มีโอกาสเรียนรู้กับโลกยุคใหม่ “โลกไซเบอร์” ซึ่งในอดีต เราไม่ได้รับการเรียนรู้เช่นนี้
3. ถ้ามนุษย์เราฝึกฝนและหมั่นเรียนรู้ในบล็อกนี้อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้อนาคตสังคมไทยจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสามารถสอนให้คนไทยมีนิสัยในการรักการอ่านมากยิ่งขึ้น
4. การได้ฝึกฝนหลักการเขียนภาษาไทย ให้มีความชำนาญ แตกฉานในการใช้หลักไวยากรณ์ภาษาไทย + ภาษาอังกฤษ
5. การได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยนำความรู้ ประสบการณ์ดี ๆ นำมาแบ่งปันกัน อาจใช้เป็นตัวอย่างในด้านการเรียนรู้ ประสบการณ์ในการทำงาน การดำรงชีวิต การจัดระบบสังคมให้ดียิ่งขึ้น ความถูกต้องของกฎหมายที่สังคมต้องปฏิบัติร่วมกัน
6. เกิดการเคารพในความรู้ซึ่งกันและกัน โดยพูดกันด้วยเหตุด้วยผล
7. ทำให้ทราบถึงปัญหาในการพัฒนาส่วนราชการและประเทศว่าเกิดจากสาเหตุใด
8. ทำให้ทราบถึงปัญหาในช่วงรอยต่อระหว่างการบริหารราชการแบบใหม่กับการบริหารราชการแบบเก่า
9. ทราบถึงความเข็มแข็งและความอ่อนแอของผู้ที่ใช้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงาน เนื่องจากถ้าปฏิบัติแบบผิด ๆ จะทำให้ระบบด้านกฎหมายในอนาคตผิดไปจากความเป็นจริง
10. ทำให้ทราบถึงจุดแข็ง – จุดอ่อนเกี่ยวกับการทำงานของภาคราชการและการพัฒนาตนเองของข้าราชการไทย
11. ทำให้ทราบถึงว่าปัจจุบันระบบราชการไทยยังมีระบบศักดินาในการทำงานของระบบราชการอยู่มาก และผู้บังคับบัญชายังใช้อำนาจในการทำงานหรือบังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่ ซึ่งขัดกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ได้มีการกระจายอำนาจให้กับส่วนราชการ โดยไม่ได้ให้หัวหน้าส่วนราชการใช้อำนาจ แต่ให้ใช้การวัดผลงาน + การทำงานเป็นทีมในการทำงานมากกว่าการใช้อำนาจ
12. ทำให้ทราบถึงการขับเคลื่อนของการใช้ระบบ IT ในระบบสังคมไทยเป็นไปอย่างช้า ไม่รวดเร็ว เห็นได้จากผู้ใช้บล็อกส่วนมากจะเป็นผู้ที่อายุกลางคนลงไป (ผู้ใหญ่ใช้บล็อกมีน้อย) ส่วนมากจะเป็นบุคคลที่มีอายุ ตั้งแต่อายุ 45 ปี ลงมาและจำนวนที่เข้าใช้ทั่วประเทศ… แต่การเข้ามาใช้ยังไม่มากเท่ากับจำนวนคนทั้งประเทศ
13. ทำให้ทราบว่าคนไทยยังไม่ค่อยเปิดใจในการรับความรู้ใหม่ ๆ (ค่านิยมดั้งเดิม คือ การเรียนแล้วได้รับราชการหรือทำงานต้องเป็นเจ้าคนนายคน) เมื่อ IT เข้ามาในระบบราชการจึงทำให้ยังคิดว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังคงใช้ระบบเดิม ๆ ถึงจะเปลี่ยนแปลง แต่ยิ่งถ้าเป็นผู้บริหารก็ไม่ค่อยสนใจและไม่ใส่ใจในการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่…คงใช้กระบวนการในการทำงานแบบเดิม ๆ…
14. ทำให้ทราบว่าสังคมไทยยังยึดติดกับเรื่องการได้รับวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น เป็นที่ตั้งซึ่งนำมาเป็นตัวตั้งว่าตนเองมีความรู้ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงาน คือ ประสบการณ์ในการทำงานต่างหาก ที่จะทำได้ผลของการทำงานได้สำเร็จ” สำหรับวุฒิการศึกษานั้นเป็นเพียงบันไดขั้นแรกของการเริ่มต้นทำงาน เรียกได้ว่า วุฒิการศึกษานั้น คือ ความรู้ สำหรับการประสบผลสำเร็จในการทำงานนั้น คือ ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานและแก้ไขปัญหาการทำงาน
15. ทำให้ทราบถึงการแบ่งชนชั้น แบ่งประเภทของกลุ่มบุคลากรที่ทำงานภาครัฐ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย อย่างเด่นชัด…ทราบได้จากการเขียนในบล็อก…ซึ่งผิดจากความเป็นจริงที่รัฐมีนโยบายให้มีการแบ่งประเภทที่แตกต่างกัน สิทธิและสวัสดิการที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่มิได้หมายความถึงว่า รัฐจะให้มีการแบ่งชนชั้นกัน…แต่มุ่งเน้นในเรื่องของการทำงานเป็นทีมมากกว่า…
16. ทำให้ทราบว่าบุคลากรทุกประเภทตามข้อ 15. ควรได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง…เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่ยังไม่คำนึงการพัฒนาตนเองในด้านการทำงาน…ส่วนใหญ่จะคิดว่าการพัฒนาตนเองนั้น คือ การได้เรียนรู้ให้ได้รับวุฒิที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว…ซึ่งความเป็นจริงการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้จากหลายประเภท…เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่บรรลุตามแผนพัฒนาระบบราชการไทย…ซึ่งเป็นการมุ่งสู่สากล…
17. ทำให้ทราบว่าข้าราชการไทย (คนเก่า) ไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องของการเรียนรู้ทาง e – learning ของสำนักงาน ก.พ. มากเท่าไร…จึงทำให้เห็นถึงการเข้าหรือทำงานร่วมกันได้กับคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่…ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการทำงานร่วมกัน…โดยไม่เปิดใจที่จะยอมรับการเรียนรู้…และมองว่าการที่คนรักที่จะเรียนรู้โดยการเขียนบล็อกเป็นการกระทำเรื่องแปลกประหลาด…
18. ทำให้เห็นถึงความรู้ระหว่างการเรียนรู้แบบใหม่กับการเรียนรู้แบบเก่า โดยมี Technology เป็นสื่อกลางระหว่างการเรียนรู้ทั้ง 2 ประเภท
19. ทำให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการแจ้งให้ทราบ + ปฏิบัติ ด้วยความรวดเร็ว
20. ถ้าคนไทยหันมาเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ โดยการเรียนรู้ทางบล็อกมากขึ้นกว่านี้…จะมีผลทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต…และจะส่งผลถึงการพัฒนาคนอย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต…ปัญหาเรื่องการแบ่งแย่งจะค่อย ๆ ลดลง…

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 6, 2011 นิ้ว Uncategorized